Monday, March 27, 2006

..ส้นสูง..



หญิงไทยสมัยนี้ มีจำนวนน้อยมากที่ไม่ใส่รองเท้าส้นสูง

เดินไปที่ไหนก็เห็นมีคนใส่รองเท้าส้นสูง โดยเฉพาะวันทำงาน ทั้ง5วันของสัปดาห์ ดิฉันเอง ก็เช่นกัน เมื่อก่อนใส่รองเท้าส้นเตี้ยแล้วเดินไม่ถนัดค่ะ คิดว่าเป็นความเคยชินเสียมากกว่า ใส่ส้นสูงแทบทุกวัน วันหยุดก็ยังไม่ใส่ส้นเตี้ย

มาตรฐานหญิงไทย (โบราณ) เกิดมาตัวเล็ก ทำไงได้ล่ะคะ การที่จะทำให้ตัวสูงขึ้นได้ก็จำเป็นต้องพึ่งรองเท้าส้นสูงนี่แหละ ไม่เหมือนผู้หญิงจีน ที่ฮิตต่อกระดูกขา คิดว่าหลายคนคงได้อ่านจากบทความในหนังสือกันบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ หรือไม่ก็จากสารคดี ที่เห็นทางหน้าจอทีวี ก็เคยกล่าวถึงเรื่องนี้ สำหรับในความคิดเห็นของดิฉันเองนั้น คิดว่าอันตรายค่ะ การผ่าตัดกระดูก เสี่ยงต่ออะไรต่อมิอะไรสารพัด เกิดมีการติดเชื้อด้วยแล้ว ยิ่งเป็นเรื่องใหญ่เลยทีเดียว

เอาเป็นว่า เรากลับเข้ามาสู่ประเด็นเรื่องรองเท้าส้นสูงกันดีกว่า อันที่จริงแล้ว การใส่รองเท้าส้นสูงทำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้นได้ ยิ่งสูงมากๆ ยิ่งมีความเสี่ยงต่ออาการปวดหลังมาก


แล้วขนาดส้นรองเท้าขนาดเท่าไร เราจะเรียกว่า “ส้นสูง” ล่ะ?

เขาบอกเอาไว้ว่า ในเพศหญิง ถ้าส้นเท้าสูงประมาณ 4 1/2 เซ็นติเมตร และในเพศชาย ถ้ารองเท้าสูงประมาณ 3 1/2 เซ็นติเมตร นั้น เรานับว่าเขากำลังใส่รองเท้าส้นสูง

ส้นรองเท้าจะสูงเท่าไร จึงจะก่อให้เกิดอันตรายนั้น เป็นสิ่งที่พูดยาก เนื่องจากว่ามีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาสัมพันธ์ด้วย เช่น รูปร่างของคนๆ นั้น อ้วน หรือผอม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในคนที่กล้ามเนื้อฝ่าเท้า และขาแข็งแรงก็ย่อมจะเกิดอันตรายได้น้อยกว่าประการสุดท้าย ขึ้นอยู่กับความเคยชินที่ได้ใส่รองเท้าส้นสูงมาเป็นเวลานานๆ แต่อย่างไรก็ตามก็จะขอแนะนำว่า " การสวมรองเท้าส้นสูง ที่มีส้นรองเท้า แหลม และสูง ย่อมจะเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้มากกว่า การสวมใส่รองเท้าที่มีส้นทึบ และเตี้ย"

อันเนื่องมาจากว่า ขณะที่ใส่รองเท้าส้นสูงนั้น พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายขึ้นได้ เช่น อาการปวดเมื่อย เช่น ที่ฝ่าเท้า นิ้วเท้า น่อง ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่ากล้ามเนื้อทำงานมากเกินไป จนทำให้เกิดการเมื่อยล้า หรือกล้ามเนื้อบางมัดถูกยืดมากเกินไป หรือกล้ามเนื้อบางมัดหดเกร็งอยู่เป็นเวลานานๆ เช่น กล้ามเนื้อน่อง ย่อมจะทำให้ การไหลเวียนเลือดไม่ดี และในที่สุดเกิดการกดของเอ็นร้อยหวายได้ นอกจากนี้ที่อยากจะเน้นมากคือ การปวดหลัง และปวดเท้า

อาการปวดบางตำแหน่ง เช่น นิ้วเท้า มีหนังด้าน หรือเล็บขบ ซึ่งเกิดจากการถูกบีบหรือกดทับ หรือถูกเสียดสีมากเกินไป และประการสุดท้าย การเกิดอุบัติเหตุ เช่น เท้าแพลง หรือกระดูกหัก เมื่อหกล้ม

ดูสิคะ อันตรายของรองเท้าส้นสูง อ่านแล้วคิดเห็นอย่างไรกันบ้าง คิดอยากจะเปลี่ยนมาเป็นรองเท้าส้นเตี้ยกันรึยัง?

ที่มาของเนื้อหาทางวิชาการ : http://www.si.mahidol.ac.th




( ภาพ : Her Mothers Shoes โดย Townsend John )

5 Comments:

At 8:16 AM, Anonymous Anonymous said...

วิชาการเชียววว

 
At 2:17 PM, Anonymous Anonymous said...

แฮ่ แฮ่ !! ไม่มีความคิดเห็นจ๊ะ แต่ เอ!จะเปลี่ยนมาใส่ส้นเตี้ยแล้วไม่กลัวว่าจะดูตัวเล็กลงไปอีกเหรอ!! :-) สวัสดีวันทำงาน -_-"

 
At 3:22 PM, Blogger hospitalgirl said...

คุณ anonymous คะ...วิชาการบ้างสิ..จะได้ไม่บอกว่า นั่งเทียนเขียนไงล่ะคะ อิอิอิ

 
At 3:26 PM, Blogger hospitalgirl said...

สวัสดีค่ะคุณ someone..เพื่อสุขภาพเท้า สุขภาพขา และสุขภาพหลัง..เปลี่ยนเป็นส้นเตี้ยในวัยสบายๆ ดีกว่าค่ะ จริงๆ วันทำงานส่วนใหญ่เมย์ก็เปลี่ยนมาใส่ส้นเตี้ยนะ ยิ่งวันไหนที่ยุ่งๆ เดินเยอะ ยิ่งไม่อยากใส่ส้นสูงค่ะ วันไหน ไม่ยุ่งค่อยเอาส้นสูงมาใส่ใหม่ แต่นานๆที แหะ แหะ....ตัวเล็กก็ช่างมันเหอะ ทำไง มันก็ไม่สามารถสุงขึ้นมาได้หรอก ปลงค่ะปลง

 
At 1:26 PM, Blogger hospitalgirl said...

เห็นด้วยค่ะคุณลุง...นับวัน เรายิ่งฝืนธรรมชาติมากขึ้น กว่าจะรู้ซึ้ง บางครั้งมันก็สายไปเสียแล้ว...จริงมั้ยคะ

 

Post a Comment

<< Home